คำไทยแท้
ภาษาไทยเป็นภาษาที่มีวิวัฒนาการมายาวนาน มีการยืมภาษาอื่นมาผสมผสานปรับปรุงจนกลายเป็นรูปแบบภาษาของตนเอง ในการคำความเข้าใจภาษาไทยจึงไม่แปลกที่เราจะต้องมาดูลักษณะของคำไทยแท้ว่ามีลักษณะเช่นไร
คำไทยแท้จะมีพยางค์เดียว สะกดง่ายๆ ตรงตามมาตรา เช่น หมาก ผอม กลม ตา สูง ดิน ปล้น พ่อ หู ขาว ปาก พี่ ลูก โง่ ดี น้อง น้ำ ไป แม่ ฯลฯ ถ้ามี ๒ พยางค์ก็มาจาก ๓ สาเหตุคือ กร่อนเสียง แทรกเสียงและเติมพยางค์
กร่อนเสียง เช่น ฉะนั้น กร่อนมาจาก ฉันนั้น
ตะขบ กร่อนมาจาก ต้นขบ
ตะเคียน กร่อนาจาก ต้นเคียน
มะพร้าว กร่อนมาจาก หมากพร้าว
มะม่วง กร่อนมาจาก หมากม่วง
มะปราง กร่อนมาจาก หมากปราง
ตะปู กร่อนมาจาก ตาปู
สะใภ้ กร่อนมาจาก สาวใภ้
ละอ่อน กร่อนมาจาก ลูกอ่อน
ตะเข็บ กร่อนมาจาก ตัวเข็บ
สะเอว กร่อนมาจาก สายเอว
แทรกเสียง เช่น ลูกกระดุม มาจาก ลูกดุม
ลูกกระเดือก มาจาก ลุกเดือก
ผักกระถิน มาจาก ผักถิน
ผักกระเฉด มาจาก ผักเฉด
นกกระจอก มาจาก นกจอก
นกกระจิบ มาจาก นกจิบ
นกกระจาบ มาจาก นกจาบ
เติมพยางค์ เช่น โจน เป็น ประโจน
โดด เป็น กระโดด
จุ๋มจิ๋ม เป็น กระจุ๋มกระจิ๋ม
ถด เป็น กระถด
ท้วง เป็น ประท้วง
หนึ่ง เป็น ประหนึ่ง
คำไทยแท้มีตัวสะกดตรงตามมาตรา ถ้าตัวสะกดไม่ตรงตามรูปมาตราไม่ใช่คำไทยแท้ ยกเว้น ดูกร กับ อรชร เพราะ มาจากคำว่า ดูก่อนและอ่อนช้อน
แม่กก ใช้ ก สะกด เช่น ผัก รัก มาก ลาก จาก
แม่กบ ใช้ บ สะกด เช่น ดับ คับ สูบ ทุบ ยุบ พบ
แม่กด ใช้ ด สะกด เช่น มัด รัด ฟัด จุด สด ชด
แม่กง ใช้ ง สะกด เช่น วัง มุง ลุง ชั่ง นาง
แม่กน ใช้ น สะกด เช่น เรียน ลาน ฝัน ปาน
แม่กม ใช้ ม สะกด เช่น ผม ลม สม ปูม เข้ม งม
แม่เกย ใช้ ย สะกด เช่น หาย ควาย สาย นาย สวย
แม่เกอว ใช้ ว สะกด เช่น ผิว ดาว แมว ข้าว เหว
คำไทยแท้ไม่มีการันต์ ยกเว้น ๓ คำนี้ แม้มีตัวการันต์ก็เป็นคำไทยแท้คือ ผีว์ ม่าห์ เยียร์
คำไทยแท้มักปรากฎรูปวรรณยุกต์ เพราะวรรณยุกต์เป็นเอกลักษณ์ของภาษาไทย ภาษาอื่นๆ ไม่มี เช่น
พอ พ่อ พ้อ
แม่ แม้
ปา ป่า ป้า